หลักสูตร
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ได้จัดหลักสูตรเพื่อศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- หลักสูตรช่างยนต์ - เครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
ระยะเวลาในการเรียนตลอดหลักสูตร 2 ปี จำนวนหน่วยกิตรวม 86 หน่วยกิต
การเรียนการสอนเป็นไปตามโครงสร้างหลักสูตรดังนี้
* 1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป รวม 26 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาชีพ
* 2.1 กลุ่มวิชาชีพพื้นฐาน รวม 9 หน่วยกิต
* 2.2 กลุ่มวิชาชีพเฉพาะสาขา รวม 30 หน่วยกิต
** 2.3 กลุ่มวิชาชีพเลือก รวม 15 หน่วยกิต
* 3 กลุ่มวิชาเลือกเสรี รวม 6 หน่วยกิต
หมายเหตุ
* ศึกษาทั้งช่างยนต์ปกติและช่างยนต์ - เครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
** ศึกษาเฉพาะช่างยนต์ - เครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ กลุ่มวิชาชีพเลือก
เป็นวิชาที่ทำการเรียนการสอนเฉพาะนักศึกษาเครื่องทำความเย็น จำนวน 15 หน่วยกิต ดังต่อไปนี้
1. วิชาท่อลมในระบบปรับอากาศ 3 หน่วยกิต
2. วิชาระบบปรับอากาศ 3 หน่วยกิต
3. วิชาทฤษฎีไฟฟ้าในระบบทำความเย็นและปรับอากาศ 3 หน่วยกิต
4. วิชาปฏิบัติไฟฟ้าในระบบทำความเย็นและปรับอากาศ 2 หน่วยกิต
5. วิชางานทดลองเครื่องทำความเย็น 2 หน่วยกิต
6. วิชาปัญหาเฉพาะการทำความเย็นและปรับอากาศ 2 หน่วยกิต
ลักษณะการเรียนการสอน
โปรแกรมวิชาช่างยนต์ - เครื่องทำความเย็นและปรับอากาศจะทำการเรียนการสอน
ตามหลักสูตรช่างยนต์ โดยมีเนื้อหา ที่ต่อเนื่องทางวิชาชีพช่างยนต์ จากระดับ ปวช.
เกี่ยวกับเครื่องยนต์ทั้งเครื่องยนต์แก๊สโซลีนเครื่องยนต์ดีเซลและกลุ่มวิชาการที่เกี่ยวกับ
ด้านเครื่องกลทั้งหมดโดยจัดวิชาเรียนเพิ่มในกลุ่มวิชาชีพเลือกเฉพาะสาขาจำนวน 15 หน่วยกิต
ซึ่งจะเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศทั่วไป ตั้งแต่ขนาดเล็กที่ใช้ใน
ที่พักอาศัย ตลอดจนถึงขนาดใหญ่ ที่ใช้ในด้านพาณิชยกรรม อุตสาหกรรมทั่วไป
เช่น ระบบทำความเย็นในตู้เย็น ตู้แช่ ห้องเย็น โรงน้ำแข็ง และระบบปรับอากาศที่ใช้ในบ้าน
ในยานยนต์ อาคารสำนักงาน โรงแรมห้างสรรพสินค้า และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในสาขานี้จะมีความรู้ความเชี่ยวชาญ
ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องยนต์และเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
แนวทางการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
เมื่อสำเร็จการศึกษาได้รับวุฒิ ปวส. ช่างยนต์ -เครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
แล้วสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ทางด้านวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต หรือ ครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต
ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่นเดียวกับผู้ที่จบการศึกษาจากแผนกวิชาช่างยนต์
และช่างจักรกลหนักทุกประการ
สถาบันที่รับเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี อาทิเช่น
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
แนวทางในการประกอบอาชีพ
เมื่อสำเร็จการศึกษา ได้รับวุฒิ ปวส.ช่างยนต์ - เครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
จะสามารถประกอบอาชีพเป็นช่างเทคนิคสถานประกอบการของรัฐและเอกชนหรือเลือก
ประกอบอาชีพส่วนตัวได้ ดยสามารถเลือกลักษณะงานได้ทั้งสายงานด้านช่างยนต์หรือ
ช่างเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
คุณวุฒิที่ได้รับหลังจากสำเร็จการศึกษา
นักศึกษาที่เลือกศึกษา หลักสูตรช่างยนต์ – เครื่องทำความเย็นและ
ปรับอากาศ จะได้รับการศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไป เช่นเดียวกับนักศึกษา
ที่เลือกศึกษาหลักสูตรช่างยนต์ปกติ และยังได้รับการศึกษาเพิ่มเติม
ในวิชาชีพเลือก ทางด้านเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ จำนวน
15 หน่วยกิต เพื่อเตรียมความพร้อมในการออกไปประกอบอาชีพทั้ง
ทางด้านช่างยนต์ ด้านเครื่องทำความเย็น และเครื่องปรับอากาศ
ดังนั้นนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรช่างยนต์ – เครื่องทำ
ความเย็นและปรับอากาศ จะได้รับวุฒิบัตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ชั้นสูง (ปวส.ช่างยนต์) โดยมีศักดิ์และสิทธิ์เช่นเดียวกับนักศึกษาที่สำเร็จ
การศึกษาหลักสูตรช่างยนต์ ปกติ
จำนวนที่รับเข้าศึกษา จำนวน 30 คน
ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม
โปรแกรมวิชาช่างยนต์ - เครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
โทรศัพท์ 044 - 242978-9 ต่อ 3450 , 3451
ผศ.ชูชัย ต.ศิริวัฒนา 081-7605350
อ. จรัล คะเชนทร์ชาติ 081-8784522
อ. สัญชัย รำเพยพัด 083-0420542
อ. นพรัตน์ อมัติรัตน์ 081-3211023
อ. อภิเดช บุญเจือ 087-8300006
|